แนะนำแนวการสอนของมอนเทสซอริ โดยโรงเรียนและผู้ให้การศึกษาต่างๆ เสนอโดยสมาคมมอนเทสซอริแห่งประเทศไทย
Introduction to the Montessori educational principles in Thai by schools and educators. Brought to you by Montessori Association of Thailand.
Introduction to the Montessori educational principles in Thai by schools and educators. Brought to you by Montessori Association of Thailand.
A Montessori Dictionary พจนานุกรมมอนเทสซอรี
คำศัพย์มอนเทสซอริตัวอย่าง Sample text
Absorbent Mind จิตซึมซับ: จิตสามารถซึมซับความรู้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย มอนเทสซอรีกล่าวว่าเด็กแรกเกิดถึงหกปีมี “จิตซึมซับ”
Adaptation การปรับตัว: เมื่อเชื่อมโยงกับแนวคิดด้านจิตซึมซับ (Haines, 1993) การปรับตัวคือพลังพิเศษของเด็กเล็กจึงอาจเรียกว่าพลังการปรับตัว พลังนี้คือกระบวนการที่เด็กเล็กซึมซับวัฒนธรรมตามกาลเวลาและสถานที่ของเด็ก รับเจตคติ ประเพณี ความไฝ่ฝันและทัศนะจากสังคม แค่เพียงเด็กอาศัยอยู่กับสังคมนั้น
Analysis of Movement การวิเคราะห์การเคลื่อนไหว: เทคนิควิธีหนึ่งที่ใช้โดยครูมอนเทสซอรี- เมื่อผู้ใหญ่สาธิตการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนแก่เด็กจะแยกส่วนการเคลื่อนไหวและแสดงทีละขั้นตอน อย่างช้าๆและแม่นยำ การกระทำนั้นจึงเป็นลำดับการเคลื่อนไหวที่ง่ายและให้โอกาสเด็กทำสำเร็จมากขึ้น เมื่อ “เด็กได้ใช้การเคลื่อนไหวนั้นอย่างเสรี”(Montessori, 1966, p. 108)
Children’s House บ้านเด็ก: ในภาษาอิตาเลียน Casa de Bambini คาซา ดี เบมบีนี เป็นสถานที่สำหรับเด็ก อายุ ๓ ถึง ๖ ปีอยู่อาศัยและเจริญเติบโต มีทุกสิ่งที่จำเป็นต่อพัฒนาการสูงสุดของมนุษย์รวมทั้งความปลอดภัยและมั่นคงของสิ่งแวดล้อม
Classification การจัดแบ่งประเภท: จัดกลุ่ม จัดสรร จำแนก – เป็นปกติที่ เด็กเล็กชอบทำการจัดแบ่งประเภทเนื่องจากเป็นส่วนสำคัญยิ่งของกระบวนการสร้างปัญญา ห้องเรียนมอนเทสซอรีเสนอโอกาสมากมายเพื่อการจัดแบ่งประเภท
Concentration สมาธิ: กระทำอย่างจดจ่อ- เด็กเล็กมุ่งความสนใจไปที่ลักษณะหรือสิ่งต่างๆในสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต่อพัฒนาการ ในทัศนะมอนเทสซอรี สมาธิคือ “การกระทำอย่างต่อเนื่องที่จดจ่อกับงานหนึ่งงานใด – การปฏิบัติร่วมกับอุปกรณ์ในสิ่งแวดล้อม โดยการเคลื่อนที่ของมือมาจากการชี้นำของสติปัญญา” (1983, p. 149) Deep engagement
Concrete to Abstract รูปธรรมสู่นามธรรม: ความก้าวหน้าอย่างถูกต้องและพัฒนาการอย่างเหมาะสม- เมื่อเด็กได้รับการแนะนำอุปกรณ์รูปธรรมซึ่งทำให้นามธรรมเป็นรูปเป็นร่าง เช่น ขนาดหรือสี -เมื่อมือได้ประสบการณ์ สติปัญญาก็จะรับแนวคิดจากอุปกรณ์และสร้างแนวคิดเชิงนามธรรม พัฒนาการที่ค่อยๆเกิดขึ้นจะส่งเสริมให้เด็กเข้าใจและหยั่งรู้แนวคิดในลักษณะของสัญญลักษณ์
Control of Error การควบคุมความบกพร่อง: วิธีหนึ่งที่แสดงผลสะท้อนกลับแบบทันทีทันใด- กิจกรรมมอนเทสซอรีทุกอย่างให้เด็กประเมินผลก้าวหน้าโดยตนเองได้ นี่คือเหตุทำให้ผู้เรียนควบคุมตนเอง และขณะเดียวกันก็ป้องกันความภูมิใจและแรงจูงใจในตนเองของเด็กได้ -การควบคุมความบกพร่องเป็นคุณสมบัติประการสำคัญของ การเรียนรู้อย่างอัตโนมัติ auto- education.
Adaptation การปรับตัว: เมื่อเชื่อมโยงกับแนวคิดด้านจิตซึมซับ (Haines, 1993) การปรับตัวคือพลังพิเศษของเด็กเล็กจึงอาจเรียกว่าพลังการปรับตัว พลังนี้คือกระบวนการที่เด็กเล็กซึมซับวัฒนธรรมตามกาลเวลาและสถานที่ของเด็ก รับเจตคติ ประเพณี ความไฝ่ฝันและทัศนะจากสังคม แค่เพียงเด็กอาศัยอยู่กับสังคมนั้น
Analysis of Movement การวิเคราะห์การเคลื่อนไหว: เทคนิควิธีหนึ่งที่ใช้โดยครูมอนเทสซอรี- เมื่อผู้ใหญ่สาธิตการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนแก่เด็กจะแยกส่วนการเคลื่อนไหวและแสดงทีละขั้นตอน อย่างช้าๆและแม่นยำ การกระทำนั้นจึงเป็นลำดับการเคลื่อนไหวที่ง่ายและให้โอกาสเด็กทำสำเร็จมากขึ้น เมื่อ “เด็กได้ใช้การเคลื่อนไหวนั้นอย่างเสรี”(Montessori, 1966, p. 108)
Children’s House บ้านเด็ก: ในภาษาอิตาเลียน Casa de Bambini คาซา ดี เบมบีนี เป็นสถานที่สำหรับเด็ก อายุ ๓ ถึง ๖ ปีอยู่อาศัยและเจริญเติบโต มีทุกสิ่งที่จำเป็นต่อพัฒนาการสูงสุดของมนุษย์รวมทั้งความปลอดภัยและมั่นคงของสิ่งแวดล้อม
Classification การจัดแบ่งประเภท: จัดกลุ่ม จัดสรร จำแนก – เป็นปกติที่ เด็กเล็กชอบทำการจัดแบ่งประเภทเนื่องจากเป็นส่วนสำคัญยิ่งของกระบวนการสร้างปัญญา ห้องเรียนมอนเทสซอรีเสนอโอกาสมากมายเพื่อการจัดแบ่งประเภท
Concentration สมาธิ: กระทำอย่างจดจ่อ- เด็กเล็กมุ่งความสนใจไปที่ลักษณะหรือสิ่งต่างๆในสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต่อพัฒนาการ ในทัศนะมอนเทสซอรี สมาธิคือ “การกระทำอย่างต่อเนื่องที่จดจ่อกับงานหนึ่งงานใด – การปฏิบัติร่วมกับอุปกรณ์ในสิ่งแวดล้อม โดยการเคลื่อนที่ของมือมาจากการชี้นำของสติปัญญา” (1983, p. 149) Deep engagement
Concrete to Abstract รูปธรรมสู่นามธรรม: ความก้าวหน้าอย่างถูกต้องและพัฒนาการอย่างเหมาะสม- เมื่อเด็กได้รับการแนะนำอุปกรณ์รูปธรรมซึ่งทำให้นามธรรมเป็นรูปเป็นร่าง เช่น ขนาดหรือสี -เมื่อมือได้ประสบการณ์ สติปัญญาก็จะรับแนวคิดจากอุปกรณ์และสร้างแนวคิดเชิงนามธรรม พัฒนาการที่ค่อยๆเกิดขึ้นจะส่งเสริมให้เด็กเข้าใจและหยั่งรู้แนวคิดในลักษณะของสัญญลักษณ์
Control of Error การควบคุมความบกพร่อง: วิธีหนึ่งที่แสดงผลสะท้อนกลับแบบทันทีทันใด- กิจกรรมมอนเทสซอรีทุกอย่างให้เด็กประเมินผลก้าวหน้าโดยตนเองได้ นี่คือเหตุทำให้ผู้เรียนควบคุมตนเอง และขณะเดียวกันก็ป้องกันความภูมิใจและแรงจูงใจในตนเองของเด็กได้ -การควบคุมความบกพร่องเป็นคุณสมบัติประการสำคัญของ การเรียนรู้อย่างอัตโนมัติ auto- education.
คำศัพย์มอนเทสซอริ ฉบับเต็ม
Montessori vocabulary full text |
|