Montessori Association of Thailand
  • Home
    • Course Info ข้อมูลหลักสูตร
    • Our Schools โรงเรียนของเรา
  • More Info ข้อมูลเพิ่มเดิม
    • Trainings การอบรม >
      • Course Materials เอกสารประกอบการอบรม
    • Resources เพื่อเสริมความรู้ >
      • My Newborn ลูกน้อยแรกเกิดของแม่
      • My Infant ลูกอ่อนของแม่
      • My Toddler เด็กน้อยที่หัดเดินอยู่ของแม่
      • Lodging in Khon Kaen ที่พักที่ขอนแก่น
    • Job Posting ประกาศรับสมัครงาน >
      • Job Searching หางาน
    • Congress 2023 คองเกรส ๒๕๖๖
    • Archive ที่เก็บเอกสาร >
      • 0-3 year old Classrooms ห้องเรียนเด็ก 0-3 ปี
      • 3-6 year old classrooms ห้องเรียนเด็ก 3-6 ปึ
      • 6-12 year old classrooms ห้องเรียนเด็ก 6-12 ปี
      • Summer Schedule ภาคฤดูร้อน
      • Other Training การอบรมอื่นๆ
      • AMI Messages ข้อความจากเอเอ็มไอ
      • Other Messages ข้อความอื่นๆ
  • About เกี่ยวกับสมาคม
    • Montessori มอนเทสซอริ
    • Contact ติดต่อ
    • Announcements ประกาศ
    • FAQ คำถามที่พบบ่อย
    • Links ลิงค์
เด็กน้อยที่หัดเดินอยู่ของแม่ 
แปลจาก My Toddler
​12 เดือนถึง 2 ขวบ
พัฒนาการของลูกน้อยในช่วงเวลานี้ จะสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ในช่วงชีวิตการเป็นพ่อแม่ให้กับคุณ ลูกของคุณจะเริ่มใช้ภาษาในการสื่อสาร และขยับเขยื้อนร่างกายในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการพัฒนาทั้งสองสิ่งนี้จะส่งเสริมซึ่งกันและกัน กล่าวคือระหว่างที่ลูกของคุณกำลังสนุกกับการเพิ่มพูนทักษะใช้ภาษา การเคลื่อนไหวร่างกายก็จะพัฒนาเพิ่มขึ้นทุกวัน
พัฒนาการด้านการสื่อสาร
  • พูดได้อย่างน้อย 1 คำ เมื่ออายุ 1 ขวบ ถือเป็นกฎมาตรฐานของพัฒนาการด้านภาษาของทารก
  • คุณคือต้นแบบที่สำคัญที่สุดในเรื่องภาษาและการสื่อสาร ลูกจะเฝ้ามองริมฝีปากของคุณเมื่อคุณพูด และสังเกตวิธีการขยับปากเพื่อเปล่งเป็นคำพูดออกมา หากคุณต้องการสื่อสิ่งใดกับลูกโดยใช้มือประกอบ อาจต้องระวังเพราะเขาอาจจะมัวจดจ่อกับการดูริมฝีปากของคุณอยู่
  • การตั้งชื่อสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก จะช่วยเพิ่มพูนคำศัพท์ให้เขาจดจำ
  • ลูกน้อยของคุณจะสนุกกับการอ่านหนังสือไปกับคุณ หรืออ่านด้วยตัวเอง ดังนั้น การมีหนังสือดีๆ เนื้อหาง่ายๆ ที่มีคำศัพท์ 1-2 คำในหนึ่งหน้า จะช่วยสร้างความสนใจให้กับพวกเขาได้เป็นอย่างดี 
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
เด็กบางคนเดินได้ตั้งแต่ก่อนครบหนึ่งขวบ ขณะที่บางคนต้องใช้เวลาถึง 16 เดือนหรือมากกว่านั้น ลูกของคุณก็เช่นกัน เด็กทุกคนจะมีเวลาของเขาเองในเรื่องนี้  โดยทั่วไปพัฒนาการของเด็กจะเป็นดังนี้
  • การเริ่มหัดเดินด้วยเท้าเปล่าจะช่วยให้เด็กรับความรู้สึก รับรู้สัมผัสจากเท้าได้ดีกว่า ทำให้เรียนรู้วิธีเดินได้ง่ายขึ้น 
  • เด็กหัดเดินมักจะล้ม จึงควรจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยไว้ให้พวกเขา
  • เด็กมักสนุกกับการหัดเดินขึ้นลงบันได หรือปีนขึ้นเนินแล้ววิ่งลงมา ดังนั้นการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับพัฒนาการเรื่องนี้ ก็เป็นสิ่งจำเป็น
  • การเล่นเกมให้เด็กแตะส่วนต่างๆ ของร่างกาย จะช่วยสอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องร่ายกายของตนเอง
  • แม้ว่าจะจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัยไว้ให้ แต่โอกาสที่ลูกของคุณจะหกล้มก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จำเป็นที่จะต้องสอนให้พวกเขาเรียนรู้วิธีการล้มอย่างปลอดภัย รวมทั้งรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ล้มง่ายๆ
ความรักและความผูกพัน
  • เด็กเล็กต้องการความมั่นคงทางอารมณ์และความสัมพันธ์ที่เปี่ยมด้วยความรัก ซึ่งจะช่วยไม่ให้พวกเขาเกิดความเครียด ความสัมพันธ์นี้รวมถึงกับพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง และบรรดาผู้ที่อยู่รายล้อมพวกเขา ทำงานใกล้ชิด เช่น พี่เลี้ยง หรือเจ้าหน้าที่ของสถานเลี้ยงเด็ก เป็นต้น สัมผัสแห่งความรักและความอบอุ่นนี้ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของเด็กได้เป็นอย่างดี
  • การได้รับความรักและการยอมรับ จะช่วยให้ลูกของคุณมีพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมที่ดี
  • เด็กๆ จะซึมซับพฤติกรรมทางสังคม ผ่านการมองผู้ใหญ่ที่อยู่รายล้อมในชีวิต ดังนั้น อย่าลืมว่าพวกคุณคือต้นแบบของพวกเขา
  • ช่วงเวลานี้ เป็นเวลาสำคัญที่คุณจะเริ่มสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ อยู่เคียงข้างเมื่อพวกเขามีปัญหา อาจใช้คำพูด เช่น หนูกำลังเสียใจอยู่ใช่ไหม หรือการแสดงออกอย่างอื่น เช่น การโอบกอด ซึ่งจะช่วยให้เด็กรับรู้ว่าคุณเข้าใจและช่วยให้เด็กรู้จักอารมณ์ความรู้สึกแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตน สิ่งที่สำคัญคือ เด็กจะต้องเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และรู้ว่าคุณจะไม่ทิ้งเขาไปไหน แต่จะช่วยปลอบประโลมเมื่อเขามีปัญหา 
  • นอกจากนี้ คุณอาจสอนให้เด็กได้เรียนรู้ว่า อารมณ์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ ตอนนี้อาจเศร้าเสียใจ แต่อีกไม่นานมันก็จะหายไป ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ในเรื่องความแตกต่างระหว่าง “อารมณ์” และ “ตัวตน”
ระเบียบวินัย
  • วินัย นั้น สร้างได้จากการ “สั่งสอน” มากกว่า จาก “การลงโทษ”   เราสามารถใช้โอกาสที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือเวลาที่เด็กขัดแย้งกัน ในการปลูกฝังเรื่องนี้ให้พวกเขาได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะในด้านนี้  
  • เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่สามารถสร้างวินัยของตนเองได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้จากพวกเราว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดควร เพื่อกำหนดเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสมของตนเอง
  • เมื่อต้องการสั่งสอนลูกน้อยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่าลืมที่จะเป็นฝ่ายเดียวกับเขาก่อนแล้วจึงค่อยๆ สั่งสอนเพื่อปรับพฤติกรรมของเขา  ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกของคุณไปกัดเด็กคนอื่น คุณควรที่จะแสดงความรักความเข้าใจกับเขาก่อน เช่น ถามว่า เป็นเพราะหนูโกรธใช่ไหม และเมื่อเขาสงบลง ก็เลือกใช้คำสอนสั้นๆ ที่กระชับ และจะช่วยให้เขาได้คิด เช่น “ไปกัดเขา เขาก็เจ็บแย่ ลูกเป็นเด็กดีนี่นา”  แล้วจึงเบี่ยงเบนความสนใจ โดยพาเขาออกไปสู่สิ่งอื่น เช่น ไปดูปลาในบ่อกันดีกว่า เป็นต้น 

พัฒนาการในขวบปีที่ 2 -3 
ขวบปีที่ 3 ถือเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาสมองของลูกน้อยของคุณ ยิ่งเขาได้สำรวจ เรียนรู้ และเพิ่มพูนประสบการณ์ในโลกนี้มากขึ้นเท่าไร ก็จะช่วยให้เขาได้สร้างเสริมพัฒนาการและขีดความสามารถของตนมากขึ้นเท่านั้น เด็กส่วนใหญ่จะก้าวมาถึงหลักชัยแรกของพัฒนาการด้านการใช้ภาษาและการเคลื่อนไหวในขวบปีนี้ ต่อจากนี้ไปพวกเขาจะเข้าสู่ช่วงเวลาของการต่อยอดพัฒนาการทั้งสองด้านตามโอกาสที่ได้รับและความสามารถเฉพาะตัวที่มีอยู่ 
พัฒนาการด้านการสื่อสาร
  • อย่าลืมว่า คุณคือแหล่งคำศัพท์และต้นแบบการใช้ภาษาของลูก หากคุณใช้ถ้อยคำสุภาพอยู่ตลอดเวลา เช่น ได้โปรด…  หรือ ขอบคุณ ลูกของคุณก็จะพูดแบบเดียวกัน 
  • การเอ่ยเรียกชื่อสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวพวกเขา จะทำให้ลูกของคุณได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และมีพัฒนาการด้านภาษาที่ดียิ่งขึ้น
  • การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง นอกจากจะช่วยให้เด็กรักการอ่านและเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ แล้ว เด็กจะพัฒนาความชอบของตนขึ้นมา และเมื่อคุณทราบว่าลูกคุณชื่นชอบเรื่องใดเป็นพิเศษ คุณก็จะสามารถพูดคุยกับเขาถึงที่มาที่ไปของเรื่องราวนั้นๆ ได้ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะด้านความเข้าใจเรื่องราวให้กับเด็ก 
  • ประโยคที่ประกอบด้วย 3 คำ เป็นการเสริมสร้างพัฒนาการด้านภาษาที่เหมาะสมกับเด็กวัย 3 ขวบ 
  • ลูกของคุณจะเริ่มสนใจจับดินสอวาดรูปหรือเขียนตัวอักษร ซึ่งการจับและบังคับทิศทางของดินสอ จำเป็นต้องอาศัยทักษะในเรื่องการควบคุมการเคลื่อนไหว
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
  • แม้ว่าในขวบปีนี้ ลูกของคุณจะเดินได้แล้ว แต่ก็ยังต้องพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งต้องสร้างความแข็งแกร่งของร่างกายให้มากยิ่งขึ้น
  • ลูกของคุณจะชื่นชอบการวิ่ง การกระโดด การปีนป่าย การผลัก การดึง การทรงตัว และการยกของ เป็นพิเศษ
  • สมองของเด็กน้อยถูกออกแบบมาให้เรียนรู้การทำสิ่งง่ายๆ โดยการมองและเลียนแบบผู้อื่น ดังนั้นในช่วงนี้ พวกเขาจะสนุกสนานกับการลอกเลียนแบบ พูดหรือทำท่าทางต่างๆ ตามคนในบ้านหรือคนรอบๆ ตัว
  • การเคลื่อนไหวมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้ ดังนั้น อย่าปล่อยให้ลูกนั่งจมอยู่กับเก้าอี้เป็นเวลานานๆ ให้พวกเขาได้มีโอกาสทำกิจกรรมและมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสมอง 
  • ผลการวิจัยระบุว่า ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่าสามขวบ อยู่หน้าจอโทรทัศน์หรือโทรศัพท์เกินวันละ 1 ชั่วโมง
พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม
  • การนอนหลับอย่างเพียงพอมีความสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการด้านสมองของเด็ก เด็กบางคนอาจเลิกนอนกลางวันในช่วงนี้ ขณะที่บางคนยังคงนอนกลางวัน ควรจัดให้เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ เพื่อให้พวกเขาได้ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และรู้สึกผ่อนคลาย 
  • ในช่วงนี้ ลูกของคุณพร้อมแล้วที่จะมีประสบการณ์ทางสังคมกับเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน ซี่งจะช่วยให้พวกเขามีโอกาสได้พัฒนาทักษะในการเข้าสังคม 
  • ช่วงเวลานี้ เป็นเวลาสำคัญที่คุณจะเริ่มสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ อยู่เคียงข้างเมื่อพวกเขามีปัญหา อาจใช้คำพูด เช่น หนูกำลังเสียใจอยู่ใช่ไหม หรือการแสดงออกอย่างอื่น เช่น การโอบกอด ซึ่งจะช่วยให้เด็กรับรู้ว่าคุณเข้าใจและช่วยให้เด็กรู้จักอารมณ์ความรู้สึกแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตน สิ่งที่สำคัญคือ เด็กจะต้องเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และรู้ว่าคุณจะไม่ทิ้งเขาไปไหน แต่จะช่วยปลอบประโลมเมื่อเขามีปัญหา 
  • เด็กในช่วงวัยนี้ จะเรียนรู้และมีพัฒนาการทางอารมณ์ได้อย่างมาก หากเราสามารถกระตุ้นให้เขาบอกเล่าเรื่องที่กำลังรบกวนจิตใจหรือทำให้เขาไม่สบายใจ  โดยอาจจะเริ่มถามว่า หนูดูเศร้าๆ นะ หนูเสียใจใช่ไหม แล้วก็เริ่มเล่าเรื่องเพื่อให้ลูกเกิดความสนใจ โดยอาจใส่อารมณ์ ความรู้สึก และอารมณ์ขันลงไป จนทำให้ลูกยอมเล่าเรื่องหรือปัญหาของตนให้ฟัง พวกเขาอาจจะเล่าซ้ำๆ จนคุณอาจรำคาญ แต่อย่าลืมว่าการเล่าเรื่อง หรือการพูดถึงปัญหาจะช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจ ช่วยเยียวยา และสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างคุณและลูกน้อย
  • นอกจากนี้ คุณอาจสอนให้เด็กได้เรียนรู้ว่า อารมณ์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ ตอนนี้อาจเศร้าเสียใจ แต่อีกไม่นานมันก็จะหายไป ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ในเรื่องความแตกต่างระหว่าง “อารมณ์” และ “ตัวตน”
ระเบียบวินัย
  • เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่สามารถสร้างวินัยของตนเองได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้จากพวกเราว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดควร เพื่อกำหนดเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสมของตนเอง
  • เมื่อต้องการสั่งสอนลูกน้อยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่าลืมที่จะเป็นฝ่ายเดียวกับเขาก่อนแล้วจึงค่อยๆ สั่งสอนเพื่อปรับพฤติกรรมของเขา  ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกของคุณไปกัดเด็กคนอื่น คุณควรที่จะแสดงความรักความเข้าใจกับเขาก่อน เช่น ถามว่า เป็นเพราะหนูโกรธใช่ไหม และเมื่อเขาสงบลง ก็เลือกใช้คำสอนสั้นๆ ที่กระชับ และจะช่วยให้เขาได้คิด เช่น “ไปกัดเขา เขาก็เจ็บแย่ ลูกเป็นเด็กดีนี่นา”  แล้วจึงเบี่ยงเบนความสนใจ โดยพาเขาออกไปสู่สิ่งอื่น เช่น ไปดูปลาในบ่อกันดีกว่า เป็นต้น 
ลูกของฉัน My Child
ลูกน้อยแรกเกิดของแม่
    My Newborn

​ลูกอ่อนของแม่
​    My Infant

เด็กน้อยที่หัดเดินอยู่ ของแม่​
    My Toddler
Picture

สำหรับดาวโหลด: 
my_toddler.pdf
File Size: 159 kb
File Type: pdf
Download File

Credits
  • Thank you Montessori Australia for allowing Montessori Association of Thailand for using the content
  • Thank you Ms. Kachaphat Nimmanonda for help in translation to Thai.

Montessori Association of Thailand

About 
Contact
© COPYRIGHT 2015. ALL RIGHTS RESERVED.